ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เหลือ 2.25% ต่อปี ในการประชุม กนง. ครั้งที่ 5/2567

บทความโดย

ใน

เผยแพร่เมื่อ

แก้ไขล่าสุด

สรุป ประชุม กนง. ครั้งที่ 5 ปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดดอกเบี้ย เหลือ 2.25% ต่อปี ไทยลดดอกเบี้ย 25 Basis Points

คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 2.5% เหลือ 2.25% ต่อปี (ลดลง 25 BPS) ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 5 ของปี 2567

จากการแถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในครั้งนี้ เศรษฐกิจในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภค ภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 และมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง สินเชื่อโดยรวมชะลอลง และคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลงโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง ส่วนด้านเสถียรภาพการเงิน กระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (Debt Deleveraging) มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่องภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง

คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการ 5 ท่านเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงจาก 2.5% ต่อปีเหลือ 2.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้างโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ

ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ 2.5% โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

ทั้งนี้ การลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ถือเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่การขึ้นดอกเบี้ยจาก 2.25% ต่อปีเป็น 2.5% ต่อปี เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

มุมมองเศรษฐกิจไทยในภาพรวม จากการประชุม กนง. ครั้งที่ 5/2567

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ

ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ 2% และ 2.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3 ปี 2567

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และ 1.2% ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และ 0.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 

ประชุม กนง. ครั้งที่ 5 ปี 2567 เงินเฟ้อทั่วไป กรอบ เงินเฟ้อเป้าหมาย
เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทรงตัวใกล้ขอบล่าง และไม่สะท้อนความเสี่ยงภาวะเงินฝืด

ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ

ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต

สินเชื่อในระบบเศรษฐกิจไทย ประชุม กนง ครั้งที่ 5/2567 คุณภาพสินเชื่อ SMEs

ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

คณะกรรมการมองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ในระดับเป็นกลางสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และไม่ต่ำเกินไป

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว


ข้อมูลอ้างอิง

แก้ไขล่าสุดเมื่อ:


หากเป็นประโยชน์ติดตามเราได้ที่:

แชร์บทความนี้:

บทความที่เกี่ยวข้อง