ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 Basis Points ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ หรือ Federal Funds Rate ลดลงเหลือกรอบเป้าหมาย 4.75% ถึง 5% ในการประชุม Federal Open Market Committee (FOMC) ครั้งที่ 6 ของปี 2567 ด้วยมติ 11 ต่อ 1 เสียง หลังจากที่ได้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีมาอย่างยาวนาน
ปัจจัยหลักที่ทำให้ Fed ตัดสินใจลดดอกเบี้ยในครั้งนี้มาจากการที่เงินเฟ้อของสหรัฐฯ เป็นไปตามเป้าหมายของ Fed ซึ่งคณะกรรมการ FOMC “เชื่อมั่นมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมาย 2% อย่างยั่งยืนในระยะยาว” รวมถึงเห็นว่าปัจจุบันความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สมดุล ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจยังมองว่าไม่แน่นอน
การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ในครั้งนี้เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกของ Fed ในรอบ 4 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่การประชุม FOMC เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 ที่เป็นการประชุมฉุกเฉินเพื่อรับมือในช่วงเริ่มต้นของสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ซึ่งในครั้งนั้น Fed ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 100 Basis Points ในครั้งเดียว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อยู่ที่กรอบ 0% ถึง 0.25% ในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 ภายในเดือนเดียวกัน (ครั้งแรกวันที่ 5 มีนาคม 2563 ลด 50 Basis Points)
โดยเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตามที่ Fed ได้เคยส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเอาไว้ในการแถลงสุนทรพจน์ของการประชุม Jackson Hole เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ เมืองแจ็กสันโฮล รัฐไวโอมิง รวมถึงจากการแถลงการณ์การประชุม FOMC ครั้งที่ 5 ของปี 2567 ครั้งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567
นอกจากนั้น แม้ว่ามติในการลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการ FOMC จะเป็น 11 ต่อ 1 เสียง แต่ 1 เสียงดังกล่าวเป็นเสียงที่มีมติให้ลดดอกเบี้ยเช่นกัน เพียงแต่ต้องการให้ลดลงแค่ 25 Basis Points เท่านั้น
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จากการประชุม FOMC กันยายน 2567
อัตราเงินเฟ้อเติบโตไปในทิศทางเป้าหมาย โดยลดลงอย่างมากจากจุดสูงสุดที่ 7% สู่ 2.2% ณ เดือนสิงหาคม ทั้งนี้แม้อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายระยะยาวที่ 2% ซึ่งจากการประมาณการโดยอิงจากดัชนีราคาผู้บริโภคและข้อมูลอื่น ๆ ระบุว่าระดับราคา PCE รวมเพิ่มขึ้น 2.2% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และถ้าหากไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน ราคา PCE จะเพิ่มขึ้น 2.7%
โดย Fed เชื่อว่านโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ช่วยฟื้นฟูสมดุลระหว่างอุปทานรวมและอุปสงค์ ลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และทำให้คาดการณ์เงินเฟ้อคงที่ ซึ่งการคงดอกเบี้ยของ Fed ในปีที่ผ่านมาได้ช่วยให้เงินเฟ้อเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น ซึ่ง Fed มีความมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อกำลังเคลื่อนตัวไปที่ 2% อย่างยั่งยืน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลงและตลาดแรงงานมีความร้อนแรงน้อยลงอย่างมาก จึงทำให้ความเสี่ยงด้านบวกต่อเงินเฟ้อลดลงและความเสี่ยงด้านลบต่อการจ้างงานเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ในการแถลงข่าวการประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ของปี 2567 ในครั้งนี้ ประธาน Fed นาย Jerome Powell ยังได้กล่าวว่า “คณะกรรมการ FOMC ทราบดีว่าการลดข้อจำกัดด้านนโยบายอย่างรวดเร็วเกินไปอาจขัดขวางความคืบหน้าของเป้าหมายเงินเฟ้อได้ แต่กาลดข้อจำกัดเหล่านี้ช้าเกินไปอาจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานอ่อนแอลงโดยไม่จำเป็น”
GDP เพิ่มขึ้น 2.2% (Annual Rate GDP) ในช่วงครึ่งแรกของปี และข้อมูลที่มีชี้ให้เห็นถึงอัตราการเติบโตที่ใกล้เคียงกันในไตรมาสนี้ โดยการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่ง การลงทุนในอุปกรณ์และสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้เริ่มฟื้นตัวจากอัตราที่ลดลงเมื่อปีที่แล้ว และในส่วนของ Housing Sector การลงทุนลดลงในไตรมาสที่ 2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสแรก สภาพอุปทานที่ปรับตัวดีขึ้นช่วยสนับสนุนอุปสงค์ที่ยืดหยุ่นและประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ คณะกรรมการส่วนใหญ่คาดว่าการเติบโตของ GDP จะยังคงแข็งแกร่ง โดยมีการคาดการณ์ค่ามัธยฐานที่ 2% สำหรับในไม่กี่ข้างหน้า
ในตลาดแรงงาน สภาวะต่าง ๆ ยังคงชะลอตัวลง การจ้างงานเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 116,000 อัตราต่อเดือนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากช่วงต้นปี อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแต่ยังคงต่ำที่ 4.2% การเติบโตของค่าจ้างที่เป็นตัวเงินลดลงในช่วงปีที่ผ่านมา โดยรวมแล้วหลายตัวบ่งชี้ได้บ่งชี้ว่าสภาวะในตลาดแรงงานขณะนี้ไม่ตึงตัวเท่ากับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2562 และตลาดแรงงานไม่ใช่แหล่งที่มาของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
มุมมองของคณะกรรมการ FOMC ต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต
ในการประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ของปี 2567 ในครั้งนี้ คณะกรรมการ FOMC ได้เขียนการประเมินจากมุมมองของตนเองเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมสำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ (Federal Funds Rate) โดยพิจารณาจากสถานการณ์ที่ผู้เข้าร่วมการประชุมแต่ละคนมองว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในอนาคตหากเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปตามที่คาดไว้
คณะกรรมการโดยเฉลี่ยคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate ในระดับที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 4.4% ในสิ้นปี 2567 (กรอบเป้าหมายดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.25% ถึง 4.5%) และ 3.4% ในสิ้นปี 2568 (กรอบเป้าหมาย 3.25% ถึง 3.5%) โดยการคาดการณ์โดยเฉลี่ยเหล่านี้ต่ำกว่าในการประชุม FOMC ครั้งที่ 4 ใน เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงและอัตราการว่างงานจะสูงขึ้น รวมถึงความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป
ทั้งนี้ การคาดการณ์เหล่านี้ไม่ใช่แผนหรือการตัดสินใจของคณะกรรมการที่ตายตัว เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป นโยบายการเงินก็จะปรับเปลี่ยนตามเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการจ้างงานสูงสุดและเสถียรภาพราคาให้ดีที่สุด หากเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ คณะกรรมการก็สามารถลดการจำกัดนโยบายได้ช้าลง หากตลาดแรงงานอ่อนตัวลงโดยไม่คาดคิดหรืออัตราเงินเฟ้อลดลงเร็วกว่าที่คาดไว้คณะกรรมการก็พร้อมที่จะตอบสนอง
แถลงการณ์การประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ของปี 2567
ตัวบ่งชี้ล่าสุดบ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง การจ้างงานเพิ่มขึ้นช้าลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อได้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปตามเป้าหมาย 2% ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการ FOMC พยายามที่จะบรรลุอัตราการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในอัตรา 2% ในระยะยาว คณะกรรมการมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเคลื่อนตัวไปสู่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน และเห็นว่าความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สมดุล แนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน โดยคณะกรรมการให้ความสำคัญกับความเสี่ยงทั้งสองด้าน
เมื่อพิจารณาจากความคืบหน้าของอัตราเงินเฟ้อและความสมดุลของความเสี่ยง คณะกรรมการจึงตัดสินใจลดกรอบเป้าหมายของ Federal Funds Rate ลง 0.5% (50 Basis Points) เหลือ 4.75% ถึง 5% ในการพิจารณาปรับลดกรอบเป้าหมาย Federal Funds Rate เพิ่มเติมคณะกรรมการจะประเมินข้อมูลที่เข้ามา แนวโน้มความเปลี่ยนแปลง และความสมดุลของความเสี่ยงอย่างรอบคอบ นอกจากนั้น คณะกรรมการจะยังคงลดการถือครอง Treasury securities, Agency debt และ Agency Mortgage‑backed securities ต่อไป โดยคณะกรรมการมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนการจ้างงานสูงสุดและนำอัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2%
ในการประเมินจุดยืนที่เหมาะสมของนโยบายการเงิน คณะกรรมการ FOMC จะติดตามผลกระทบของข้อมูลที่ได้รับเข้ามาที่ส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการจะเตรียมที่จะปรับจุดยืนของนโยบายการเงินตามความเหมาะสม หากเกิดความเสี่ยงที่อาจขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของคณะกรรมการ ซึ่งการประเมินของคณะกรรมการจะพิจารณาข้อมูลหลากหลายประเภท ได้แก่ การอ่านค่าเกี่ยวกับสภาวะตลาดแรงงาน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อและคาดการณ์เงินเฟ้อ ตลอดจนการพัฒนาด้านการเงินและระหว่างประเทศ
คณะกรรมการที่ลงคะแนนเสียงสนับสนุนการดำเนินการด้านนโยบายการเงินในครั้งนี้ ได้แก่ Jerome H. Powell ประธาน, John C. Williams รองประธาน, Thomas I. Barkin, Michael S. Barr, Raphael W. Bostic, Lisa D. Cook, Mary C. Daly, Beth M. Hammack, Philip N. Jefferson, Adriana D. Kugler, และ Christopher J. Waller
สำหรับผู้ลงคะแนนเสียงคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวคือ Michelle W. Bowman โดยต้องการให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 Basis Points ในการประชุมครั้งนี้
Federal Reserve issues FOMC statement
Recent indicators suggest that economic activity has continued to expand at a solid pace. Job gains have slowed, and the unemployment rate has moved up but remains low. Inflation has made further progress toward the Committee’s 2 percent objective but remains somewhat elevated.
The Committee seeks to achieve maximum employment and inflation at the rate of 2 percent over the longer run. The Committee has gained greater confidence that inflation is moving sustainably toward 2 percent, and judges that the risks to achieving its employment and inflation goals are roughly in balance. The economic outlook is uncertain, and the Committee is attentive to the risks to both sides of its dual mandate.
In light of the progress on inflation and the balance of risks, the Committee decided to lower the target range for the federal funds rate by 1/2 percentage point to 4-3/4 to 5 percent. In considering additional adjustments to the target range for the federal funds rate, the Committee will carefully assess incoming data, the evolving outlook, and the balance of risks. The Committee will continue reducing its holdings of Treasury securities and agency debt and agency mortgage‑backed securities. The Committee is strongly committed to supporting maximum employment and returning inflation to its 2 percent objective.
In assessing the appropriate stance of monetary policy, the Committee will continue to monitor the implications of incoming information for the economic outlook. The Committee would be prepared to adjust the stance of monetary policy as appropriate if risks emerge that could impede the attainment of the Committee’s goals. The Committee’s assessments will take into account a wide range of information, including readings on labor market conditions, inflation pressures and inflation expectations, and financial and international developments.
Voting for the monetary policy action were Jerome H. Powell, Chair; John C. Williams, Vice Chair; Thomas I. Barkin; Michael S. Barr; Raphael W. Bostic; Lisa D. Cook; Mary C. Daly; Beth M. Hammack; Philip N. Jefferson; Adriana D. Kugler; and Christopher J. Waller. Voting against this action was Michelle W. Bowman, who preferred to lower the target range for the federal funds rate by 1/4 percentage point at this meeting.
อ้างอิงจาก