Commodity คืออะไร? มีสินค้าอะไรบ้าง

บทความโดย

ใน

เผยแพร่เมื่อ

แก้ไขล่าสุด

Commodity คือ ประเภท สินค้าโภคภัณฑ์

Commodity คือ สินค้าโภคภัณฑ์ เป็นชื่อเรียกประเภทหนึ่งของสินค้าที่มีลักษณะและราคาเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ต่างกันมากไม่ว่าสินค้า Commodity ชนิดนั้นถูกผลิตที่มุมไหนของโลก ทำให้ Commodity เป็นสินค้าประเภทที่สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์

ด้วยลักษณะที่เหมือนกันและทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ Commodity เป็นสินค้าประเภทที่ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นสินค้าอื่น เช่น อาหาร สินค้าอุตสาหกรรม พลังงาน เครื่องประดับ รถยนต์ โทรศัพท์ สารเคมี ตลอดจนการก่อสร้าง เป็นต้น

โดยเบื้องต้นเราสามารถแบ่งกลุ่ม Commodity Goods หรือ สินค้าโภคภัณฑ์ ได้เป็น 2 ประเภท คือ Soft Commodity ที่เกิดจากการผลิตของมนุษย์ เช่น ยางพารา และผลผลิตทางการเกษตร และ Hard Commodity ที่มาจากธรรมชาติ เช่น ทองคำ น้ำมันดิบ ถ่านหิน หิน และก๊าซธรรมชาติ

Commodity มีกี่ประเภท?

ประเภทของ Commodity สามารถแบ่งประเภทได้ตามกลุ่มอุตสาหกรรมของสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งสามารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. สินค้าเกษตร (Agricultural)
  2. สินค้าพลังงาน (Energy)
  3. โลหะ (Metals)
  4. สินค้าปศุสัตว์ (Livestock)

สินค้าโภคภัณฑ์เกษตร (Agricultural)

สินค้าโภคภัณฑ์เกษตร (Agricultural) คือ สินค้าทางการเกษตร โดยสินค้าในกลุ่มนี้กว่าครึ่งเป็นวัตถุดิบที่นำไปใช้ผลิตอาหารให้กับทั้งคนและสัตว์

ตัวอย่าง สินค้าโภคภัณฑ์เกษตร (Agricultural) ได้แก่ กาแฟ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำตาล กาแฟ โกโก้ ชา ไม้ เครื่องเทศ และยางพารา

สินค้ากลุ่มพลังงาน (Energy)

สินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มพลังงาน (Energy) เป็นสินค้าที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ได้มาจากกระบวนการขุดแร่หรือสกัดออกมา นอกจากนี้สินค้าในกลุ่มนี้ยังอาจรวมถึงผลผลิตที่ได้ต่อเนื่องมาจากสินค้าในกลุ่มพลังงานอย่างปิโตรเคมีด้วย ถือเป็นสินค้าประเภทแรก ๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึงเมื่อกล่าวถึงการลงทุนใน Commodity

ตัวอย่างของสินค้าประเภทพลังงาน ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันดิบ ก๊าซธรรม น้ำมันเตา ตลอดจนไฟฟ้าพลังงานน้ำและพลังงานลม เป็นต้น

โลหะ (Metals)

โลหะ (Metals) คือสินค้าประเภทโลหะตามชื่อที่นำไปใช้ในการผลิตต่าง ๆ หรือแม้แต่ใช้เป็นเครื่องประดับ ส่งผลให้ Commodity ในกลุ่มโลหะอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals) และ โลหะมีค่า (Precious Metals)

โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals) จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมหนักและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ทองแดง อลูมิเนียม เหล็ก ตะกั่ว ไทเทเนียม ดีบุก ตลอดจน rare-earth อื่นๆ

โลหะมีค่า (Precious Metals) เป็นโลหะประเภทที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตเครื่องประดับ (แม้ว่าจะสามารถใช้ได้ในอุตสาหกรรมได้ด้วยก็ตาม) เช่น ทองคำ และโลหะเงิน

สินค้าปศุสัตว์ (Livestock)

สินค้าโภคภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าปศุสัตว์ (Livestock) คือ สินค้าที่ได้มาจากสัตว์ทั้งหมด ทั้งเนื้อสัตว์และผลผลิตที่ได้มาจากสัตว์

ตัวอย่างสินค้าปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่ วัว หมู กุ้ง หอย ปู หลา ไข่ไก่ หนังสัตว์ ไข่มุก ขนสัตว์ นม และสัตว์และผลผลิตที่ได้มาจากสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นที่ต้องการของตลาด


การลงทุนใน Commodity Goods

จะเห็นว่า Commodity Goods เหล่านี้มักจะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติส่งผลให้เป็นสินค้าที่มีอยู่อย่างจำกัดหรือผลิตได้จำกัด แม้ว่าสินค้าบางชนิดอย่างสินค้าปศุสัตว์โดยส่วนใหญ่มนุษย์อาจควบคุมได้บ้างก็ตาม

เมื่อบวกกับด้วยความที่สินค้า Commodity มีปริมาณความต้องการใช้ครั้งละมาก ๆ และใช้อย่างต่อเนื่องในสายการผลิตในสินค้าส่วนใหญ่ จึงเป็นเหตุผลที่ Commodity มีการสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Future Contract) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคากับทั้งผู้ซื้อและผู้ผลิตเองจากความผันผวนของราคาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ในขณะเดียวกันความผันผวนของราคาก็ถือเป็นโอกาสของนักลงทุนที่ยังสามารถลงทุนเพื่อทำกำไรจากความผันผวนดังกล่าว จากทั้งการเข้าไปซื้อขายสินค้า Commodity โดยตรงด้วยตนเอง การเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ Commodity โดยตรงและผ่านกองทุนรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures)

เกี่ยวกับ:

แก้ไขล่าสุดเมื่อ:


หากเป็นประโยชน์ติดตามเราได้ที่:

แชร์บทความนี้: