อัตราการว่างงาน คืออะไร?
อัตราการว่างงาน คือ ร้อยละของกำลังแรงงาน (Labor Force) ที่ว่างงาน (Unemployed) และยังคงหางานในช่วงเดือนที่ผ่านมา เป็นตัวเลขที่แสดงว่าจากแรงงานทั้งหมดภายในประเทศมีผู้ที่ไม่มีงานทำเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
โดยอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) คำนวณมาจากการนำผู้ว่างงาน (Unemployed) หารด้วยกำลังแรงงาน (Labor Force) แล้วคูณ 100 ออกมาเป็นร้อยละของผู้ว่างงานจากกำลังแรงงานทั้งหมด
กำลังแรงงาน (Labor Force) คือ ประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ซึ่งทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และจะต้องไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังนี้:
- กำลังศึกษา (ในสถานศึกษา)
- ไม่ทำงานแล้วเนื่องจากอายุมากเกินไป
- อยู่ระหว่างการพัก
- เป็นพ่อบ้านหรือแม่บ้าน
- ป่วยหรือพิการ
โดยผู้ว่างงาน (Unemployed) คือ กำลังแรงงาน (Labor Force) ที่ต้องการทำงานแต่ไม่มีงานทำหรือกำลังหางานอยู่
ในขณะที่ผู้มีงานทำ (Employed) คือ ประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือก็คือ กำลังแรงงาน (Labor Force) ที่มีงานทำ
ตัวเลขอัตราการว่างงานจะจัดทำขึ้นโดยหน่วยงานด้านสถิติในแต่ละประเทศ อย่างเช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติของไทย และ U.S. Bureau of Labor Statistics ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
อัตราการว่างงาน บอกอะไร?
อัตราการว่างงานสามารถบ่งบอกสภาพเศรษฐกิจโดยรวมว่าเป็นไปในทิศทางที่กำลังขยายตัวหรือหดตัว ในช่วงที่เศรษฐกิจดีหรือเศรษฐกิจขยายตัวอัตราการว่างงานมักจะต่ำ เนื่องจากการขยายธุรกิจจำเป็นที่จะต้องต้องมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาหรือหดตัว อัตราการว่างงานมักจะสูง เนื่องจากบริษัทจะทำการลดจำนวนคนงาน และไม่จ้างพนักงานเพิ่มขึ้นเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายลง
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอัตราการว่างงานที่ต่ำอาจเป็นปัจจัยลบได้เช่นกัน เพราะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและคนส่วนใหญ่ที่สามารถหางานทำได้อาจนำไปสู่การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม
ซึ่งนำไปสู่ปัจจัยด้านลบ เพราะอัตราการว่างงานที่ต่ำอย่างต่อเนื่องยังสามารถนำไปสู่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากนายจ้างต่างเสนอเงินเดือนและสวัสดิการที่สูงขึ้นเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีอย่างจำกัดไว้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของต้นทุนสินค้าและบริการโดยรวมที่ทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นได้เช่นกัน