Tax Haven คืออะไร? ทำความเข้าใจกับดินแดนภาษีต่ำ

เผยแพร่เมื่อ

ใน

Tax Haven คือ ประเทศภาษีต่ำ

Tax Haven คืออะไร?

Tax Haven คือ ดินแดนภาษีต่ำที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าประเทศทั่วไปที่มักจะนำมาใช้เป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นประเทศหรือเขตอำนาจศาลที่มีอัตราภาษีต่ำและกฎระเบียบที่เอื้อต่อบุคคลหรือบริษัทในการใช้ลดความรับผิดทางภาษี

ทั้งนี้คำจำกัดความของ Tax Haven ยังหมายความรวมถึงแหล่งที่มีการปกปิดข้อมูลทางการเงินของลูกค้าต่างชาติที่ใช้บริการของประเทศ Tax Haven เหล่านั้นด้วย

ตัวอย่างของ Tax Haven ที่หลายคนน่าจะคุ้นชื่อและเคยได้ยินมาบ้าง ได้แก่ เบอร์มิวดา บาฮามาส เจอร์ซีย์ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หมู่เกาะเคย์แมน และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น

มุมมองต่อ Tax Haven

มุมมองต่อ Tax Haven อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจากจากมุมมองของบุคคลและบริษัทที่ใช้ประโยชน์จาก Tax Haven คือมุมมองในการใช้ลดภาระทางภาษีโดยรวมและการใช้ประโยชน์สำหรับธุรกิจและบุคคลทั่วไปที่ต้องการปกป้องทรัพย์สินและข้อมูลทางการเงินของตน

อย่างไรก็ตาม จากมุมมองของรัฐบาลและสังคมโดยรวม Tax Haven เป็นสิ่งที่อาจนำไปสู่การสูญเสียรายได้และเอื้อต่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การหลีกเลี่ยงภาษีและการฟอกเงิน นอกจากนี้การใช้แหล่ง Tax Haven ยังเป็นสิ่งที่สร้างความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจด้วยการทำให้ผู้ร่ำรวยหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีในสัดส่วนที่ยุติธรรมตามที่กฎหมายกำหนด

สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่ามีเหตุผลที่ถูกต้องตามกฎหมายในการใช้ Tax Haven อย่างเช่น การใช้เพื่อปกป้องทรัพย์สินจากความไม่มั่นคงทางการเมืองหรือเพื่อเข้าถึงบริการทางการเงินเฉพาะทาง แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ Tax Haven สำหรับกิจกรรมที่ผิดกฎหมายหรือผิดจริยธรรมอาจส่งผลเสียต่อทั้งบุคคลและสังคมโดยรวม

ปัญหาของ Tax Haven

การใช้ Tax Haven มีข้อเสียหลายประการที่เป็นเงาตามตัว หนึ่งในนั้นคือการที่บุคคลหรือบริษัทสามารถใช้ Tax Haven เพื่ออำนวยความสะดวกในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย อย่างเช่น การหลีกเลี่ยงภาษีและการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย และใช้เพื่อลดภาระภาษีลงด้วยวิธี ๆ

ทั้งหมดส่งผลให้ประเทศที่พวกเขาดำเนินธุรกิจสูญเสียรายได้และเพิ่มภาระให้กับผู้เสียภาษีในประเทศ

และสุดท้ายการใช้ Tax Haven ยังอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านชื่อเสียงของผู้ใช้ เนื่องจากมักถูกมองว่าผิดจรรยาบรรณและอาจทำลายภาพลักษณ์และความสัมพันธ์ของบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)

ติดตามเรา:

บทความโดย

แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ

เกี่ยวกับ: