• Post category:Investment

Short Sell คือ การยืมหุ้นเพื่อขายทันทีในราคาปัจจุบัน และซื้อหุ้นกลับมาคืนในอนาคตตามเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ การ Short Sell หรือ การขายชอร์ต คือ สิ่งที่จะสามารทำกำไรจากส่วนต่างราคาจากการขายแพงและซื้อกลับมาคืนในราคาถูก ตรงข้ามกับการซื้อถูกขายแพงที่ทุกคนคุ้นชินในการลงทุน

ตัวอย่างเช่น นาย A มองว่าหุ้น FNVST ที่ปัจจุบันราคา 100 บาทต่อหุ้นเป็นราคาที่สูงเกินไป และมองว่าในอนาคตหุ้น FNVST จะราคาลดลง นาย A จึงทำการ Short หุ้น FNVST สิ่งที่เกิดขึ้นในการ Short Selling หุ้นคือการยืมหุ้นมาขายทันทีที่ราคา 100 บาท 10,000 หุ้น ส่งผลให้นาย A จะได้เงิน 1,000,000 บาท

เมื่อเวลาผ่านไปราคาหุ้นลดลงจริงสมมติว่าลดลงเหลือ 50 บาท นาย A ก็จะซื้อ 10,000 หุ้น ณ ตอนที่ราคา 60 บาทเพื่อคืนด้วยเงินเพียง 600,000 บาท ส่งผลให้ได้กำไรจากการ Short Selling หุ้น FNVST 400,000 บาทจากส่วนต่างราคาในการขายแพงแล้วกลับมาซื้อถูกไปคืน

กำไรจากการ Short Sell (ยังไม่หักต้นทุน) = ราคาที่ยืมมาขาย – ราคาที่ซื้อกลับคืน

การ Short Sell คือเครื่องมือในการทำกำไรในตลาดที่เป็นขาลงได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงใช้ในการบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนของผู้ที่ถือหุ้นอ้างอิงในช่วงเวลาที่ราคาหุ้นผันผวน อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของการ Short Sell คือการที่คุณจะต้องหาสินทรัพย์อ้างอิง (ในที่นี้คือหุ้น) มาคืนให้ได้ครบทันภายในระยะเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถทำกำไรได้

Short Squeeze เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความเสี่ยงของการ Short Sell คือการที่ราคาของสินทรัพย์ไม่ลดลงตามที่คาดการณ์ทำให้ไม่สามารถหาสินทรัพย์ที่ทำการ Short Selling มาคืนไม่ทัน เพราะการ Short Sell สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีหุ้นอยู่ในมือโดยสามารถยืมหุ้นจากโบรกเกอร์ออกมาขายทำกำไรได้ก่อน

ดังนั้นจึงไม่มีอะไรรับรองได้ว่าจะมีหุ้นพอให้คุณซื้อกลับมาคืนเมื่อคุณต้องซื้อหุ้นคืนตามสัญญาเพื่อปิดสัญญาไม่ว่าคุณจะได้กำไรหรือขาดทุนจากการ Short Sell ตรงนี้เองคือหลักการพื้นฐานของปัญหา Short Squeeze

Short Squeeze คือ การที่ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ของคนที่ Short Selling เอาไว้ จนทำให้ผู้ที่ Short Sell ขาดทุนมหาศาลจนต้องยอมปิดสัญญาทั้งที่ขาดทุน (หรือก็คือการยอม Cut Loss) ซึ่งการปิดสัญญาอย่างที่บอกว่าจะต้องการซื้อหุ้นมาคืน

ด้วยความที่ไม่ต้องการจะไม่ขาดทุนไปมากกว่านี้นักลงทุนจึงเกิดการ “ไล่ซื้อหุ้นทุกราคา” เพื่อนำหุ้นมาคืน และเมื่อเกิดความต้องการซื้อมากขึ้นราคาหุ้นก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก การ Short Squeeze ก็จะยิ่งทำให้นักลงทุนขาดทุนเพิ่มขึ้นไปอีกตามจำนวนการ Short Sell ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

อย่างในกรณีของ GameStop การ Short Squeeze ทำให้ราคาหุ้น GameStop เพิ่มขึ้นไปสูงถึง 1,000% ภายในระยะเวลาเพียงสัปดาห์เดียว จากการที่ Free Float ของหุ้นในตลาดมีอยู่อย่างจำกัดและการ Short Sell สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีหุ้นอยู่ในมือบวกกับการใช้ Leverage จนทำให้ปริมาณการ Short Selling ยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีก โดยปริมาณการขายชอร์ตหุ้น GameStop สูงถึง 260%

ข้อมูลอ้างอิงจาก: GreedisGoods, Investopedia, BusinessInsider, CNBC

Finvestory

บทความเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน ธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ ในโลกที่ทุกคนต่างลงทุน