Opportunity Cost คืออะไร? ค่าเสียโอกาสเกิดจากอะไร

เผยแพร่เมื่อ

ใน

Opportunity Cost คือ ค่าเสียโอกาส คือ ต้นทุน ค่าเสียโอกาส ตัวอย่าง

Opportunity Cost คืออะไร?

Opportunity Cost คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วส่งผลให้ไม่สามารถทำอีกสิ่งหนึ่งได้ ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) จึงเป็นต้นทุนของการเลือก เพราะการเลือกสิ่งหนึ่งทำให้ไม่สามารถทำอีกสิ่งหนึ่งไปพร้อมกันได้เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

ตัวอย่าง Opportunity Cost ที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวันคือการที่มีเงิน 1 ล้านบาทสำหรับทำอะไรบางอย่าง การที่ใช้เงิน 1 ล้านไปกับการลงทุนในหุ้นก็จะเสียโอกาสในการใช้เงินทำอย่างอื่น

โดยค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Costs) ที่เห็นได้ชัดเจนและอยู่ในรูปของตัวเงิน และ ต้นทุนแฝง (Implicit Costs) ที่เป็นค่าเสียโอกาสที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นรูปตัวเงินได้ แต่เป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสที่ทำให้เราไม่ได้รับผลประโยชน์บางอย่างที่เราอาจจะได้รับจากการเลือกทางเลือกอื่น

จะเห็นว่า Opportunity Cost คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากปัญหาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ว่าจะ เงิน แรงงาน หรือเวลา ทำให้ไม่สามารถทำได้ทุกเรื่องหรือทำได้หลายเรื่องพร้อมกัน ค่าเสียโอกาสจึงเป็นที่มาของเงินตราที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ซึ่งเราจะไม่ต้องเสียเวลาปลูกผักทั้งที่ไม่ถนัด ในขณะที่สามารถทำอย่างอื่นแล้วได้ผลผลิตมากกว่า

การเปรียบเทียบค่าเสียโอกาส

การเปรียบเทียนค่าเสียโอกาสคือการประเมินทางเลือกเพื่อหาทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้จากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่

สมมติว่า แดงกับดำสามารถทำงานได้ 2 งานคือการปลูกผักและขุดดิน โดยที่ทั้งสองคนมีสามารถในการทำงานทั้ง 2 งานไม่เท่ากัน ซึ่งจำนวนงานที่ทั้ง 2 คนสามารถทำได้ใน 1 ชั่วโมงทำได้ดังนี้

ค่าเสียโอกาส ตัวอย่าง Opportunity Cost
ตัวอย่างการเปรียบเทียบต้นทุนค่าเสียโอกาส

Opportunity Cost ที่เกิดขึ้นเมื่อปลูกผัก

  • ค่าเสียโอกาสของดำในการปลูกผัก 1 แปลง คือ ไม่สามารถขุดดิน 3 แปลง (12÷4)
  • ค่าเสียโอกาสของแดงในการปลูกผัก 1 แปลง คือ ไม่สามารถขุดดิน 5 แปลง (10÷2)

Opportunity Cost ที่เกิดขึ้นเมื่อขุดดิน

  • ค่าเสียโอกาสของดำในการขุดดิน 1 แปลง คือ ไม่สามารถปลูกผัก 0.3 แปลง (4÷12)
  • ค่าเสียโอกาสของแดงในการขุดดิน 1 แปลง คือ ไม่สามารถปลูกผัก 0.2 แปลง (2÷10)

จากตารางจะเห็นว่า ค่าเสียโอกาสในการปลูกผักของดำต่ำกว่าแดง และค่าเสียโอกาสในการขุดดินของแดงต่ำกว่าดำ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบจากต้นทุนค่าเสียโอกาส นายดำควรปลูกผักและนายแดงควรขุดดิน จึงจะสามารถสร้างผลตอบแทนสูงสุดตามความสามารถสูงสุดของแต่ละคน

อย่างไรก็ตาม ในการประเมินค่าเสียโอกาสอาจจะไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนสูงสุดก็ได้ แต่อาจเป็นการหาทางเลือกที่ความเสี่ยงต่ำที่สุด คุณภาพดีที่สุด เร็วที่สุด ประหยัดวัตถุดิบบางอย่างที่สุด เหนื่อยน้อยที่สุด หรือแม้กระทั่งสบายใจที่จะทำมากที่สุด

วิธีเปรียบเทียบ ต้นทุนค่าเสียโอกาส

วิธีการเปรียบเทียบค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) สามารถสรุปเป็นขั้นตอนที่สามารถทำได้ด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นที่ 1 สร้างทางเลือก

    สร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่มีให้เลือก

  2. ขั้นที่ 2 กำหนดเงื่อนไข

    สร้างเงื่อนไขจากประโยชน์ที่ได้รับในแต่ละทางเลือก

  3. ขั้นที่ 3 ประเมินค่าเสียโอกาส

    ประเมินทางเลือกว่าเมื่อเลือกทางเลือกหนึ่งจะเสียประโยชน์อะไรจากการไม่เลือกทางเลือกอื่นบ้าง

  4. ขั้นที่ 4 หาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด

    เลือกทางที่ให้ผลประโยชน์มากที่สุด หรือเสียโอกาสน้อยที่สุด หลังจากการประเมินในแต่ละทางเลือก

ติดตามเรา:

บทความโดย

แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ

เกี่ยวกับ: