ECB คืออะไร? รู้จักกับ ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank)

เผยแพร่เมื่อ

ใน

ECB คือ European Central Bank คือ ธนาคารกลางยุโรป ดอกเบี้ยนโยบาย ECB

ECB คืออะไร?

ECB คือ European Central Bank (ธนาคารกลางยุโรป) ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินนโยบายการเงินและรักษาเสถียรภาพด้านราคาของประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการ

European Central Bank หรือ ECB ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี โดยการดำเนินงาน ECB อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการบริหารและสภาปกครอง ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งชาติของประเทศในกลุ่มยูโรโซนแต่ละประเทศและคณะกรรมการบริหารของ ECB

โดยหน้าที่หลักของ ECB ได้แก่ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดำเนินการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศของยูโรโซน กำกับดูแลธนาคาร และให้บริการวิเคราะห์และวิจัยทางเศรษฐกิจ

กล่าวคือ ECB มีหน้าที่เหมือนธนาคารกลาง (Central Bank) ทั่วไป เพียงแต่ขอบเขตอำนาจของ ECB ไม่ได้อยู่เพียงในประเทศใดประเทศหนึ่งเหมือนอย่างเช่นธนาคารกลางของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ ECB คือธนาคารกลางที่กำกับดูแลทุกประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ใช้สกุลเงินยูโรอย่างเป็นทางการ

ประเทศที่เป็นสมาชิกของ ECB

ขอบเขตอำนาจในการดำเนินนโยบายทางการเงินของ ECB จะมีขอบเขตเพียงแค่ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร (Euro) เป็นสกุลเงินหลักของประเทศ โดย

ปัจจุบันธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีสมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยี่ยม ไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน และโครเอเชีย

ในทางกลับกัน ประเทศที่ไม่ได้ใช้เงินสกุลยูโรเป็นเงินสกุลหลัก อย่างเช่น สหราชอาณาจักรก่อนออกจากสหภาพยุโรปไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจโดยตรงของ ECB

แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะสมาชิกของสหภาพยุโรปสหราชอาณาจักรอยู่ภายใต้กฎระเบียบและนโยบายของสหภาพยุโรปบางอย่างรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการทางเศรษฐกิจและการเงินซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากนโยบายของ ECB

หน้าที่ของ ECB

โดยทั่วไปหน้าที่ของ ECB ก็คือหน้าที่ของธนาคารกลาง เพียงแต่หน้าที่ของ ECB ครอบคลุมไปถึงทุกประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลหลักของประเทศ ตัวอย่างเช่น:

ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ การรักษาเสถียรภาพของราคาของประเทศในสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร เพื่อทำให้แน่ใจว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำ คงที่ และคาดการณ์ได้

กำกับดูแลดูแลความมั่นคงของระบบธนาคาร เพื่อให้เเงินของผู้ฝากปลอดภัยโดยทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ผ่านมาตรการข้อบังคับต่าง

ดูแลเงินยูโร ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เงินยูโร การพัฒนาธนบัตรยูโรให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นและทนต่อการสึกหรอ รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน อย่างเช่น การโอนเงินแบบดิจิทัล

การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การควบคุมดูแลเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจทำให้ระบบการเงินเสียสมดุล อย่างเช่น ความวุ่นวายในตลาดหุ้น หรือการลดลงอย่างรวดเร็วของราคาบ้าน

ติดตามเรา:

บทความโดย

แก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ

เกี่ยวกับ: