เงินฝืด คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ จากการที่ผู้บริโภคไม่อยากใช้เงินหรือไม่มีเงินให้ใช้ จนทำให้ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการซื้อจนทำให้ผู้ขายจำเป็นต้องลดราคาสินค้า โดยภาวะเงินฝืด (Deflation) คือสิ่งที่จะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในที่สุด
ตัวอย่างเช่น เมื่อ 6 ปีที่แล้วเงิน 100 บาทสามารถซื้อสปาเก็ตตี้ได้ 1 จาน แต่ปัจจุบันเงิน 100 บาทสามารถซื้อสปาเก็ตตี้ได้ถึง 2 จาน จะเห็นว่าภาวะเงินฝืด (Deflation) ส่งผลให้มูลค่าที่แท้จริง
ภาวะเงินฝืด (Deflation) คือสิ่งที่เป็นด้านตรงข้ามของภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) โดยการที่เกิดภาวะเงินฝืดตัวเลขเงินเฟ้อ (Inflation) ก็จะอยู่ในระดับที่ติดลบ
สาเหตุของเงินฝืด (Deflation) คือสิ่งที่เกิดจากความต้องการซื้อของผู้บริโภคลดลงจากการที่ผู้บริโภคไม่อยากใช้เงิน (หรือไม่มีเงินให้ใช้) ในขณะที่สินค้ามีจำนวนเท่าเดิม จนส่งผลให้ปริมาณเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจน้อยลงและการลดราคาสินค้าของผู้ผลิต ซึ่งนำไปสู่การจ้างงานที่ลดลงตามกำลังการผลิตที่ลดลงและสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าลงทุนสำหรับธุรกิจ
ผลกระทบจาก ภาวะเงินฝืด
ผลกระทบจาก ภาวะเงินฝืด (Deflation) คือ การที่เศรษฐกิจชะลอตัวจนทำให้ธุรกิจไม่อยากที่เพิ่มการผลิต และไม่อยากที่จะลงทุนเพิ่มเติมเนื่องจากรายได้ของผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างชัดเจนเพราะผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ
แม้ว่า ภาวะเงินฝืดและสาเหตุของเงินฝืดอาจดูเป็นเรื่องที่ดูดีสำหรับผู้บริโภคจากการที่สินค้ามีราคาลดลงจนทำให้กำลังซื้อของเงินจำนวนเท่าเดิมเพิ่มขึ้น แต่เหตุการณ์ทั้งหมดจะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน เพราะรายได้ของผู้ผลิตก็จะมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจนทำให้ไม่อยากที่จะลงทุนเพิ่ม ซึ่งนำไปสู่การลดการผลิตและการเลิกจ้างงานในท้ายที่สุด ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค
พื้นฐานของเงินฝืด (Deflation) และสิ่งที่จะเกิดขึ้นมีกลไกดังนี้
- ผู้บริโภคไม่มีความต้องการซื้อ (หรือไม่มีเงินซื้อ)
- ผู้ผลิตเริ่มขายไม่ออกและลดราคาสินค้าในที่สุด
- ผู้ผลิตไม่อยากผลิตเพิ่มและไม่ขยายธุรกิจ
- ไม่มีการจ้างงานเพิ่ม และจากข้อ 3 อาจเกิดการเลิกจ้าง
- เมื่อคนว่างงานหมายความว่าไม่มีกำลังซื้อ
- เมื่อผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อก็จะยิ่งซ้ำเติมข้อ 1 และ 2 ให้รุนแรงยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก ภาวะเงินฝืด และ เงินฝืด (Deflation) อีกกลุ่ม คือ ผู้ที่ต้องจ่ายหนี้ในอนาคตเนื่องจากเงินฝืดจะส่งผลให้มูลค่าที่แท้จริงของหนี้เพิ่มมากขึ้น เช่น เมื่อ 6 ปีที่แล้วเงิน 100 บาทสามารถซื้อสปาเก็ตตี้ได้ 1 จาน แต่ปัจจุบันเงิน 100 บาทสามารถซื้อสปาเก็ตตี้ได้ถึง 2 จาน
ถ้าหาก A เป็นหนี้ 100,000 บาท (6 ปีที่แล้วซื้อได้ 1,000 จาน) และต้องจ่ายหนี้ในอีก 6 ปีข้างหน้า 100,000 บาท หมายความว่าเงินที่ A จ่ายหนี้ไปเป็นเงินจำนวนที่จะซื้อสปาเก็ตตี้ได้ถึง 2,000 จาน