Credit Rating คือ อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่ใช้แสดงระดับความสามารถในการชำระหนี้โดยประเมินจากความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้ โดยทั่วไปจะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตั้งแต่ A ถึง D ในการบอกความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ โดย Credit Rating ระดับ D จะมีความน่าเชื่อถือต่ำที่สุด และ A มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
ระดับความน่าเชื่อถือ Credit Rating เป็นสิ่งที่ใช้บอกว่าตราสารหนี้มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้มากน้อยเพียงใด โดย Credit Rating จะถูกจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือ Credit Rating Agency (CRA) อย่างบริษัท Standard & Poor’s ที่เป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศอเมริกา หรือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ จำกัด ในประเทศไทย
นอกจากนี้ ผลตอลแทนของตราสารหนี้ก็จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับ Credit Rating ตราสารหนี้ โดย Credit Rating ต่ำที่สุดจะให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (แลกกับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้) ส่วนตราสารหนี้ที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูงที่สุดจะให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด เนื่องจากแทบไม่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
Credit Rating มีอะไรบ้าง
Credit Rating สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามระดับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ได้แก่ Credit Rating กลุ่มที่มีความน่าเชื่อถือสูง ที่ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำแต่ให้ผลตอบแทนต่ำ และ Credit Rating กลุ่มที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ ที่ความเสี่ยงในการผิดนัดชำหนี้สูงแต่ให้ผลตอบแทนสูง
ตราสารหนี้กลุ่ม Credit Rating ความเสี่ยงต่ำที่ให้ผลตอบแทนต่ำ คือ Credit Rating ตั้งแต่ AAA ลงไปจนถึง BBB
- AAA คือ Credit Rating ของหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด
- AA คือ ความเสี่ยงต่ำมาก
- A คือ ความเสี่ยงต่ำ
- BBB คือ ความเสี่ยงปานกลาง และเป็น Credit Rating ความเสี่ยงสูงสุดของกลุ่ม Credit Rating ความเสี่ยงต่ำ

ตราสารหนี้กลุ่ม Credit Rating ความเสี่ยงสูงและให้ผลตอบแทนสูง คือ Credit Rating ตั้งแต่ BB ลงไปจนถึง D ที่อยู่ในสถาณะผิดนัดชำระหนี้ (Default)
- BB คือ Credit Rating ความเสี่ยงสูง แต่เป็นระดับความน่าเชื่อถือสูงสุดในกลุ่มความเสี่ยงสูง
- B คือ ความเสี่ยงสูงมาก
- C คือ Credit Rating ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด
- D คือ Default เป็นตราสารหนี้ที่อยู่ในสถาณะผิดนัดชำระหนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตราสารหนี้ในกลุ่มที่มีความน่าเชื่อถือต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูงกับนักลงทุน แต่ตราสารหนี้จำนวนไม่น้อยที่ Credit Rating ต่ำ (โดยเฉพาะหุ้นกู้) มักจะลงเอยที่การผิดนัดชำระหนี้ ส่งผลให้ตราสารหนี้ในกลุ่ม Credit Rating ผลตอบแทนจะสูงไม่ได้รับความนิยมเหมือนกับสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงอื่น ๆ
นอกจากนี้ ในบางบริษัทจัดอันดับ Credit Rating อาจเพิ่มเครื่องหมาย + และเครื่องหมาย – เข้าไปท้ายตัวอักษร เช่น AAA+ เพื่อทำให้สามารถแยกอันดับ Credit Rating ได้ละเอียดและกว้างยิ่งขึ้น