• Post category:Investment

Arbitrage คือ การทำกำไรส่วนต่างราคาจากสินทรัพย์บางอย่างจากความแตกต่างของราคาสินทรัพย์ระหว่างตลาดที่มีช่องว่าง โดยพื้นฐานของการทำ Arbitrage (อาร์บิทราจ) คือการซื้อสินค้าบางอย่างจากตลาดหนึ่งไปขายในอีกตลาดหนึ่งที่ราคาดีกว่า หรือขายสินทรัพย์ด้วยราคาที่ดีกว่าตลาดหนึ่งแล้วไปซื้อคืนในตลาดที่ราคาถูกกว่า

การทำ Arbitrage จะทำได้ก็ต่อเมื่อสินทรัพย์ดังกล่าวมีการซื้อขายอยู่ในมากกว่า 1 ตลาด และราคาสินทรัพย์ดังกล่าวในระหว่างตลาดมีราคาที่ต่างกันมากพอที่จะทำกำไรได้ (และคุ้มค่าเสียเวลา) ซึ่งเป็นเรื่องของช่องโหว่ ทำให้ในแต่ละช่วงเวลาสินทรัพย์บางอย่างอาจทำ Arbitrage ในตลาดหนึ่งได้แต่ในอีกช่วงเวลาหนึ่งก็อาจจะทำอีกไม่ได้แล้ว

โดยช่องว่างของการทำ Arbitrage คือ กำไรของการ Arbitrage จะน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อส่วนต่างราคาระหว่างตลาดค่อย ๆ ลดลงและหายไปในที่สุดเมื่อมีคนเข้ามาทำ Arbitrage มากขึ้น หรือพูดให้ง่ายกว่านั้นก็คือเมื่อคุณรู้ว่าสินทรัพย์บางอย่างในตลาดบางอย่างสามารถทำ Arbitrage ได้จากการที่มีคนอื่นมาบอกว่าทำได้ ก็แปลว่าตอนนั้นเริ่มที่จะสายไปแล้วสำหรับการทำ Arbitrage สินค้าดังกล่าว

ตัวอย่างง่าย ๆ ของการทำ Arbitrage คือกรณีของทองคำ (Gold) ที่ทำ Arbitrage ได้ด้วยการซื้อทองคำจากอีกตลาดหนึ่งไปขายในอีกตลาดหนึ่ง เช่น ซื้อทองคำ 1 บาท ราคา 20,000 บาทจากประเทศไทย ไปขายในประเทศอังกฤษแล้วได้ราคา 25,000 บาท

ตัวอย่างการ Arbitrage

การทำ Arbitrage ที่ง่ายที่สุดคือการซื้อจากตลาดที่ราคาถูกที่สุดไปขายในตลาดที่แพงที่สุด เพื่อเข้าใจพื้นฐานของการ Arbitrage (อาร์บิทราจ) บทความนี้จะใช้ตัวอย่างของการ Arbitrage ค่าเงิน 3 สกุล คือ บาท (THB) ดอลลาร์สหรัฐ (USD) และเยน (JPY)

โดยสมมติว่าอัตราแลกเปลี่ยนของทั้ง 3 สกุลเงินในปัจจุบันมีอัตราแลกเปลี่ยนดังนี้

  • 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ใช้ 31 บาท (THB)
  • 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) แลกได้ 113 เยน (JPY)
  • 1 เยน (JPY) เท่ากับ 0.30 บาท (THB)

ในการ Arbitrage ขั้นตอนแรกคือการใช้เงินบาท (THB) ซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD)

ทำให้แลก 100 USD ได้ด้วยเงิน 3,100 THB

แล้วนำเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) ที่ซื้อมา ไปแลกเป็นสกุลเยน (JPY)

ดังนั้น 100 USD จะแลกได้ 11,300 JPY

จากนั้นนำเงินเยน (JPY) ที่ได้มา แลกกลับเป็นเงินบาท (THB) เพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง

ดังนั้น 11,300 JPY จะแลกได้ทั้งหมด 3,277 บาท

จากตัวอย่างจะทำให้ทำกำไรจากการ Arbitrage ได้เท่ากับ 3,390 – 3,100 = 290 บาท และเราเรียกการ Arbitrage ในลักษณะนี้ว่า Triangular Arbitrage

จากตัวอย่างขั้นตอนของการ Arbitrage คือ ใช้เงินบาทแลกดอลลาร์ > ดอลลาร์และเยน > เยนแลกกลับเป็นบาท

จะ Arbitrage ต้องทำอย่างไรบ้าง

การจะทำ Abitrage ได้ขั้นแรกคือต้องหาช่องว่าของตลาดให้เจอก่อนเป็นอันดับแรก (แน่นอนว่าไม่ได้หาเจอง่าย ๆ เพราะการ Arbitrage ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องอย่าง Broker มักจะหาทางป้องกันเอาไว้แล้ว) โดยสิ่งที่สามารถทำ Arbitrage ได้ง่ายที่สุดคือตลาดใหม่ที่ยังมีช่องโหว่อยู่มากมายอย่างตลาด Cryptocurrency ที่มีช่องโหว่อยู่มากมาย (แน่นอนว่ามากกว่าแค่การ Arbitrage)

แต่เมื่อคุณหาเจอแล้วว่าจะ Arbitrage สินทรัพย์อะไรในตลาดไหน ขั้นต่อมาให้ลองคำนวณกำไรเทียบกับต้นทุนว่าท้ายที่สุดคุ้มค่าที่จะ Arbitrage หรือไม่ โดยต้นทุนจากการ Arbitrage ได้แก่

  1. ค่าธรรมเนียม ที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินทรัพย์นั้น
  2. ค่าคอมมิชชั่น (Commission) ในกรณีที่ Arbitrage หลักทรัพย์ผ่าน Broker

จากตัวอย่างการ Arbitrage ด้านบนจะเห็นว่าต้นทุนคือ ค่าธรรมเนียมของการซื้อขายเงิน (Currency) ทั้ง 3 คู่เงินนั่นเอง

ความเสี่ยงของการ Arbitrage คือ การที่คุณจะต้องเสียเวลาหาช่องว่างให้เจอแล้วเข้าไปทำการ Arbitrage และต้องเป็นช่องว่าที่ใหญ่พอจะทำกำไรได้ ในขณะที่การ Arbitrage ส่วนใหญ่ให้กำไรที่ไม่สูงมากจึงต้องใช้ปริมาณการซื้อขายในปริมาณมาก ๆ เพื่อทำให้กำไรได้มากพอ

นอกจากนี้ การเข้ามา Arbitrage ที่ช้าเกินไปในช่วงที่มีคนเข้ามาทำ Arbitrage ในสินทรัพย์ดังกล่าวมากขึ้น ช่องว่างราคาก็จะลดลงเรื่อย ๆ จนทำกำไรจากส่วนต่างไม่ได้ในท้ายที่สุด

Finvestory

บทความเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน ธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ ในโลกที่ทุกคนต่างลงทุน